วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แก๊สน้ำตา (ให้ความรู้ตามสถานการณ์บ้านเมือง)


 (อังกฤษ: Lachrymatory agent, Lachrymator หรือ Tear gas) แก๊สน้ำตาถูกใช้เป็นอาวุธประเภทก่อกวนในการปราบจลาจลเพื่อสลายการชุมนุม การใช้งานมีทั้งการยิงจากเครื่องยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง
แก๊สน้ำตาสามารถประกอบไปด้วยสารเคมีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอยู่จะมีอยู่ 3 ชนิดคือ
1. Chloroacetophenone หรือ CN Gas
2. Chlorobenzylidenemalonitrile หรือ CS Gas
3. Dibenzoxazepine : CR Gas
สารเคมีเหล่านี้อาจอยู่ในรูปของแข็ง (ผง) หรือของเหลวก็ได้ ซึ่งเมื่อโดนแก๊สน้ำตาเข้าไปแล้ว จะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูกน้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง ปริมาณที่ทำให้เสียชีวิตได้จะมากกว่าปริมาณที่ใช้ในการสลายการชุมนุมหลายร้อยเท่า
ทำอย่างไร เมื่อโดนแก๊สน้ำตา
การปฏิบัติที่สำคัญอันดับแรก คือต้องหยุดสัมผัสสารเคมีให้ได้ก่อน อาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นเองโดยที่ไม่ต้องให้การรักษาพิเศษอะไร ซึ่งในขั้นต้นได้แก่
· การหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตานั้น ไปสู่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทที่สะดวก และมีลมพัดให้สารเคมีนั้นกระจายออกไป
· ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก และใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด (2 ชั้นยิ่งดี) โดยพยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียก เพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกายได้
อาการทางตา :
ส่วนใหญ่น้ำตาที่ไหลอยู่นั้นจะช่วยขับเอาสารเคมีออกจากตาไปได้ ถ้าไม่หาย มีคำแนะนำ 2 แบบคือ อย่างแรก ให้ใช้ลมเป่าที่ตา เพื่อพัดเอาสารเคมีออกไป (ใช้พัดลมก็ได้) แต่ถ้ายังไม่หายอีก ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลือ (normal saline)
การใช้น้ำเปล่าล้างตา ในกรณีที่หาน้ำเกลือไม่ได้ แม้ว่าอาจจะใช้ได้ในที่เกิดเหตุ ก็อาจทำให้เยื่อบุตาบวมได้ และอาจหยอดยาชาช่วยบรรเทาอาการร่วมกับปิดตาไว้ก่อน, ถ้ามีแผลที่กระจกตา (corneal abrasion) ก็ให้รักษาด้วย ยาปฏิชีวนะหยอดตา และยาแก้ปวด, อาการทางตาที่เป็นมาก อาจต้องปรึกษาจักษุแพทย์ให้ช่วยดูแลด้วย
ผู้ที่ใช้ contact lens ควรรีบถอดออก แล้วล้างทำความสะอาด (ในกรณีของ soft lens ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก)
ผิวหนัง : ถ้ามีอาการแสบ อาจล้างด้วยน้ำ และสบู่มาก ๆ โดยเฉพาะตรงข้อพับต้องดูแลเป็นพิเศษ, ถ้าผิวหนังไหม้ ก็ให้การดูแลเหมือนแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกโดยทั่วไป ถ้ามีการแพ้ ก็ให้ยา topical steroid ได้, ถ้ามีสารเคมีติดที่ผม การสระผม อาจทำให้แสบหนังศีรษะได้
อาการของทางเดินหายใจ : ถ้ามีอาการมาก ควรให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้การรักษาด้วยการให้ออกซิเจน หรือให้ยาขยายหลอดลม หากมีอาการของหลอดลมตีบ ถ้าเป็นมากจนมีการหายใจล้มเหลว อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สำหรับเสื้อผ้า สามารถซักด้วยเครื่องซักผ้า ด้วยผงซักฟอกธรรมดาได้ โดยใช้น้ำเย็นซัก ห้ามใช้น้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้สารเคมีระเหยและเป็นอันตรายต่อผู้สัมผัสได้
แหล่งข้อมูล
นพ.นพวัชร์ สมานคติวัฒน์, รู้จักกับ "แก๊สน้ำตา", Thaiclinic.com
Chris E McGoey, Tear Gas & Pepper Spray , CrimeDoctor.com
วลัยพร มุขสุวรรณ, แก๊สน้ำตา, หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย 
ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
แก๊สน้ำตาคือสารเคมีอะไร?, Yahoo รอบรู้
รัชนี สุวรรณเกสร, แก๊สน้ำตา, GoToKnow.com
แก๊สน้ำตา, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
eduzone.com

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

6 การเตรียมตัวสำหรับเปิดภาคเรียน

เมื่อครั้งสมัยที่ครูกล้วยยังเป็นนักเรียน ทุกครั้งที่พรุ่งนี้จะเปิดเทอม ครูกล้วยก็มักจะมีการเตรียมตัวแบบนี้เสมอ ถ้าอยากรู้ว่าเตรียมตัวอย่างไรนั้น ก็ก้มลงอ่านบรรทัดต่อไปได้เลย
v
v
v
1. ตรวจความพร้อมของสภาพร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า
ลองดูว่าทรงผมเรียบร้อยหรือยัง เล็บมือเล็บเท้าตัดหรือยัง เพราะหากเราดูแลตนเองได้ดีแล้ว นอกจากจะปลอดภัยจากการถูกครูจับแล้ว ยังดูสุขภาพดีอีกด้วย

2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
ปิดเทอมไปนาน กระเป๋านักเรียนเอย รองเท้าเอย เข็มขัดนักเรียนเอย อาจจะวางเพล่นพล่านจากการถอดโยนไว้ตั้งแต่เทอมที่แล้วก็เป็นได้ ลองหยิบมารวมกันเพื่อสะดวกต่อการหาดูสิครับ นอกจากนั้นแล้ว ลองหาผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาดมาเช็ดทำความสะอาดหน่อยก็ดีนะครับ เพราะปิดเทอมไปนาน สิ่งของเหล่านั้นอาจขึ้นราแล้วก็ได้ หรือลองเปิดกระเป๋านักเรียนแล้วเอาขยะจากเทอมก่อนทิ้งดูบ้าง หรือรวมไปถึงเคลียร์แฟ้มใส่ใบงานและงานในแฮนดี้ไดร์ฟด้วยก็ได้ (การแต่งตัวสะอาดสะอ้านก็เป็นมงคลแก่ชีวิตนะครับ)

3. เครื่องแบบนักเรียนและชุดพละ
ปิดเทอมได้แต่นั่ง นอน กิน เชื่อว่าคงมีหลายคนที่อ้วนขึ้น เพราะฉะนั้นลองหยิบเอาชุดเหล่านั้นมาลองใส่ก็ดีนะ เผื่อใส่ไม่ได้ จะได้แก้หรือซื้อใหม่ทัน

4. จัดกระเป๋านักเรียน
เปิดเทอมวันแรก ครูกล้วยคิดว่าน่าจะไปโรงเรียนกันเร็วๆนะครับ เพราะจะได้ไปเม้าท์มอยกับเพื่อน และถือว่าเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในวันเปิดเทอมที่สดใสวันแรก ดีกว่าต้องวิ่งเข้าโรงเรียนเพราะไปสายนะครูว่า เพราะฉะนั้นเราควรจัดตารางเรียนเอาไว้ตั้งแต่วันนี้เลย ที่สำคัญอย่าลืมตรวจความพร้อมของปากกา ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัดด้วยนะครับ

5. นอนตั้งแต่หัวค่ำ
ปิดเทอมหลายคนคงติดกับการนอนดึกตื่นสาย แต่ไม่เป็นไรครับ คืนนี้นอนให้เร็วหน่อย จะได้ตื่นเช้าๆ แนะนำว่าให้นอน 22.00 - 06.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลานอนที่ได้ 8 ชั่วโมงพอดี แถมนอนเวลานี้ไม่อ้วนด้วยนะครับ เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เมตาบอลิซึมหรือระบบเผาผลาญไขมันส่วนเกินทำงานครับ

6. งดออกจากบ้าน ถ้าไม่จำเป็น
อ่านหัวข้อนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า "ทำไม?" บอกเลยว่าข้อนี้เป็นความเชื่อส่วนตัวของครูกล้วยครับ เพราะว่าตอนเด็กๆ ครูกล้วยออกไปเล่นนอกบ้านก่อนวันเปิดเทอมทีไร มักได้แผลจากการหกล้มกลับมาทุกที ช่วงหลังๆก็เลยไม่ออกไปเล่นมันซะเลย เพราะไม่อยากติดพลาสเตอร์ยาและเดินกระเผลกไปโรงเรียนตั้งแต่วันแรก พอโตมา มันก็เลยติดเป็นนิสัย เพราะฉะนั้นวันนี้ถึงแม้จะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ขอนอนเล่นเฟซบุ๊กอยู่กลับบ้านแล้วกัน

แล้วพรุ่งนี้ค่อยเจอกันที่โรงเรียนนะครับ บ้ายบาย

อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว

อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว... ...วันหนึ่งฉันไปกินก๋วยเตี๋ยวกับน้องฉันสั่งเส้นเล็กมากิน ฉันสงสัยว่าทำไมคนเลือกที่จะกินก๋วยเตี๋ยวเป็นอันดับสองรองจากข้าว และฉันก็คิดอีกว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวมันมีอันตรายรึป่าวคนถึงเลือกที่จะกิน ฉันเลยลองมาค้นหาดู...
<< อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว >>



อันตรายจากเส้นเล็กและเส้นหมี่ ถ้ารับประทานมากๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับและโรคไตสูง ผลวิจัยชี้เส้นก๋วยเตี๋ยวมหาภัย เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อโดยเฉพาะเส้นเล็กและเส้นหมี่ เสี่ยงตับไตพัง เผยบะหมี่เหลือง-วุ้นเส้นปลอดภัยกว่า แนะผู้ประกอบการอย่าโลภผลิตขายข้ามจังหวัดจนต้องใส่สารกันบูด จำนวนมาก ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภค และเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด ทำให้มีการแข่งขันทางการตลาดสูง จากก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็นเส้นสดที่ค้างหลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงมีการเติมสารกันบูด เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำให้ยืดระยะเวลาการจำหน่าย ซึ่งสารกันบูดที่นิยมใช้คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสูงเป็นเวลานานจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) ได้กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณกรดเบนโซอิกตั้งแต่ 1,079-17,250มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่กำหนดกรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวตามมาตรฐานสากล โดยก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เส้นหมี่ 7,825 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก๋วยจั๊บเส้นใหญ่ 7,358 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก๋วยจั๊บเส้นเล็ก 6,305มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม บะหมี่โซบะ 4,593 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 4,230 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า จากผลวิจัยดังกล่าวทำให้ความเชื่อเดิม ที่คิดว่าเส้นหมี่ ซึ่งมีลักษณะแห้งจะมีวัตถุกันเสียน้อย แต่จะพบมากในเส้นใหญ่ที่มีความชื้นสูงนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กลับมีการใส่วัตถุกันเสียเยอะมากเป็นอันดับ 2 รองจากเส้นเล็ก ส่วนเส้นที่ไม่พบสารเลยคือ เส้นบะหมี่เหลืองเพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นอื่นๆ จะผลิตจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย จึงมีการใส่วัตถุกันเสีย ขณะที่วุ้นเส้นไม่มีปัญหาเช่นกัน

Cr….ฟาร์มดี (ฟาร์มใส้เดือนของคนพิการ) ปณิตา เสียงเพราะ เพจ กระจกสุขภาพ แก้วกะเดียว